Monday, September 23, 2013

Spin-flip Transition (21 cm - 1420 MHz of HI neutral hydrogen)

Spin-flip Transition

สสารระหว่างดาวที่เป็นแก๊สเย็นไม่แผ่รังสีออกมาที่ความยาวคลื่นที่ตามองเห็น แต่อย่างไรก็ตามในปี 1944 นักดาราศาสตร์ชาวฮอลแลนด์ ได้ทำนายว่าไฮโดรเจนที่เป็นกลางสามารถตรวจจับการทรานซิชั่นประเภทนี้ได้ รู้จักกันในนาม spin-flip transition ที่ความยาวคลื่นวิทยุ  ผลการทดลองถูกยืนยันอีกครั้งในปี 1951 เพราะว่าในสมัยอดีตอุปกรณ์ในสมัยนั้นยังไม่มีความไวต่อสัญญาณเพียงพอ นักดาราศาสตร์วิทยุพบว่า spin-flip transition มีประโยชน์ในการทำแผนที่โครงสร้างดาราจักร ไปจนกระทั่งถึงการสร้างภาพจากการกำทอนแม่เหล็ก
เพื่อทำความเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไรในงานดาราศาสตร์ เพื่อให้ง่ายที่สุดให้จินตนาการว่า โปรตอนและอิเล็กตรอนในอะตอมไฮโดรเจนเป็นลูกทรงกลมมีประจุหมุนรอบแกนของมันเอง อะตอมของไฮโดรเจนอยู่ในสถานะพลังงานต่ำสุดซึ่งมีโปรตอนและอิเล็กตรอนหมุนในทิศทางตรงกันข้าม (anti-parallel) อย่างไรก็ตาม มันอาจเป็นไปได้ว่ามีอะตอมตัวอื่นมาชนกับอิเล็กตรอน สำหรับอะตอมของไฮโดรเจนแล้วต้องการเพียงพลังงานเล็กน้อยก็ทำให้สปินของอิเล็กตรอนเปลี่ยนทิศทางได้ (นั่นคืออาจจะ Parallel หรือ anti-parallel ได้)

อิเล็กตรอนเมื่ออยู่ในสถานะถูกกระตุ้นจะสปินในทิศทางเดียวกันกับโปรตอน (ดังรูปซ้ายมือ) เมื่อเวลาผ่านไป (ประมาณ 10 ล้านปี) อิเล็กตรอนจะพลิกกลับมาเพื่ออยู่ที่ระดับชั้นพลังงานต่ำสุด ขณะเดียวกันก็จะปลดปล่อยพลังงานออกมา ที่ความยาวคลื่นเท่ากับ 21 ซม. หรือ 1420 MHz (รูปขวามือ)
เมื่อสปินมีทิศทางเดียวกัน ไฮโดรเจนอะตอมจะอยู่ในชั้นสถานะถูกกระตุ้นหรือ excited state และถ้าทิ้งไว้เป็นระยะเวลายาวนาน (ประมาณหลายล้านปี) อิเล็กตรอนไม่เสถียรจึงต้องพลิกกลับไปยังสถานะพลังงานชั้นต่ำสุด พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาคือโฟตอนมีค่าเท่ากับพลังงานที่แตกต่างกันระหว่างการสปิน ของอิเล็กตรอนและโปรตอน ซึ่งนำไปสู่การปลดปล่อยรังสีที่ความยาวคลื่น 21 ซม. แต่อย่างไรก็ตามโอกาสในการตรวจจับแก๊สไฮโดรเจนเย็นด้วยกลไกแบบนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะการชนกันแล้วทำให้สปินของอิเล็กตรอนกับโปรตอนอยู่ในทิศทางขนานกันเลยทีเดียวค่อนข้างเป็นไปได้น้อยในสภาพแวดล้อมของสสารระหว่างดาวที่มีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ เราอาจต้องรอไปหลาย ๆ ปีจนกระทั่งอิเล็กตรอนสามารถพลิกสปินกลับมายังชั้นพลังงานที่ต่ำกว่า ซึ่งฟังแล้วเหตุการณ์เหล่านี้เป็นไปได้ยากมาก แต่อย่างไรก็ตามในสสารระหว่างดาว มีไฮโดรเจนที่เป็นกลางอยู่จำนวนมหาศาลเพราะฉะนั้นโอกาสที่จะพบไฮโดรเจนที่อยู่ในสถานะถูกกระตุ้นก็มีความเป็นได้ การทรานซิชั่นประเภทนี้สามารถบอกถึงการกระจายของไฮโดรเจนที่เป็นกลางในเอกภพของเราได้ สำหรับในบริเวณที่มีกลุ่มหมอกโมเลกุลไฮโดรเจน (หรือกลุ่มหมอกโมเลกุล) นักดาราศาสตร์จะต้องใช้เครื่องมืออื่นในการศึกษา โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้โมเลกุล CO ที่ซึ่งปลดปล่อยรังสีที่ความยาวคลื่น 2.6 mm เป็นตัวศึกษา

ข้อความเหล่าเรียบเรียงจากเว็บไซต์ http://astronomy.swin.edu.au/cosmos/S/Spin-flip+Transition สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2556

TEC DATA DOES NOT COVER FULL RANGE OF CL TABLE

Check your listr and if the data are observed more than one day you need to download the IONEX files at least 2 files and put in the same fo...